บทที่ 6 หลักการและแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนร่วมสมัย


บทที่ 6
หลักการและแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนร่วมสมัย
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นครูเป็นศูนย์กลาง
การจัดการเรียนการสอนในลักษณะที่ครูเป็นศูนย์กลาง ยึดครองอำนาจในการเรียนรู้ของผู้เรียนมาเป็นเวลานาน ซึ่งหากพิจารณาตามวิวัฒนาการของทฤษฎี หลักการและคิดทางการศึกษาควรจะหมดอำนาจไปนานแล้ว แต่ในความเป็นจริงประเทศไทยการเรียนการสอนในลักษณะที่ครูเป็นศูนย์กลางยังหาหมดอำนาจไม่ ยังคงครองอำนาจอยู่อย่างเหนียวแน่น เป็นเหตุให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้กันขึ้นความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลให้ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการศึกษา พ.. 2542 อันเป็นกฎหมายการศึกษาฉบับแรกของไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่ากระบวนการการเรียนการสอนจะต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์
หลักการกจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
 (Student – Centerd Instruction)
แบบเน้นตัวผู้เรียน
ผู้เรียนแต่ละคนมีภูมิหลัง สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด แบบการเรียนรู้ ความสนใจ และความต้องการไม่เหมือกัน การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับภูมิหลังของผู้เรียน และสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี และพัฒนาไปตามความสามารถ และศักยภาพของแต่ละบุคคล
การจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ หมายถึง การจัดสภาพการเรียนรู้การสอนให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคลโดยคำนึงถึงภูมิหลัง สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด แบบการเรียนรู้ ความสนใจและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน




แบบเน้นความรู้ ความสามารถ
การจัดการเรียนรู้แบบรู้จริง  (Mastery Learning)
หลักการ
                การเรียนรู้แบบนี้ได้มาจากแนวคิดของ จอนห์น คาร์รอล ( John Carrol)
ผู้มองการเรียนรู้ว่ามีความสัมพันธ์กับเวลาที่ผู้เรียนได้รับในการเรียนรู้ คาร์รอล เชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หากผู้เรียนได้รับเวลาที่จะเรียนรู้ในเรื่องๆ อย่างเพียงพอตามความต้องการของตน

การจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล ( Verification Teaching)
หลักการ
ผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ และสามารถประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้ หากได้รับความช่วยเหลือตามปัญหาและความต้องการของเขา
การที่ผู้สอนมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสามารถที่จะพิสูจน์และทดสอบได้ (Verifiable) และแจ้งให้ผู้เรียนได้รับรู้ความคาดหวังของตน ผู้เรียนจะเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย
                การทดสอบช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน การช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามปัญหาความต้องการของเขา จะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้
การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ (Concepe - Based Instruction)
หลักการ
                เป็นการเน้นการเรียนรู้ความคิดเชิงนามธรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ได้มาก และยั่งยืนกว่าการเรียนรู้รูปธรรม ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้กระบวนการในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และยังช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบองค์รวม และมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล

แบบเน้นประสบการณ์
การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ ( Experiential Learning)
หลักการ
                ประสบการณ์เป็นแหล่งที่มาของการเรียนรู้และเป็นพื้นฐานสำคัญของการเกิดความคิด ความรู้ และการกระทำต่างๆ กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการรับประสบการณ์รูปธรรม ขั้นการสังเกตอย่างไตร่ตรอง ขั้นการสร้างแนวคิดเชิงนามธรรม และขั้นการทดลองประยุกต์หลักการใช้ในสภาพการใหม่
แบบเน้นปัญหา
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (problem Based Instruction)
                ปัญหาสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดภาวะงุนงงสงสัยและความต้องการที่จะแสวงหาความรู้เพื่อขจัดความสงสัยดังกล่าว การให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาจริงหรือสถานการณ์ต่างๆและร่วมกันคิดหาทางแก้ไขปัญหานั้นๆจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมาก และมีความหมาย และสามารถพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ อันเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก (Project Based Instruction)
การใช้โครงการหรือโครงงานในการสอนตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อ ที่สัมพันธ์กันจริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการสืบสอบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนได้ใช้ความคิดขั้นซับซ้อน ผลที่ผลิตแสดงออกมาก็จะแสดงถึงความรู้ความคิดของผู้เรียนนี้สามารถนำเอามาอภิปรายแลกเปลี่ยนต่อสาธารณชุมชน สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และการทำงานให้แก่ผู้เรียน ยังสามารถช่วยผู้เรียนดึงศักยภาพต่างที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียนออกมาได้ใช้ประโยชน์ด้วย



แบเน้นทักษะกระบวนการ
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการสืบสอบ (Inquiry Based Instruction)
การสืบสอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific inquiry) เป็นกระบวนการที่จำเป็นต่อการแสวงหาและศึกษาข้อความรู้ต่างๆ คำถามที่เหมาะสมสามารถนำผู้เรียนไปสู่การค้นพบข้อความรู้ใหม่ๆ ได้
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนการสืบสอบ หมายถึง การดำเนินการเรียนการสอน โดยผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคำถาม เกิดความคิด และลงมือเสาะแสวงหาความรู้ เพื่อนำมาประมวลหาคำตอบหรือข้อสรุปด้วยตนเอง โดยผู้สอนช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ในด้านต่างๆ
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด (Thinking – Based Instruction)
                กระบวนการคิดเป็นกระบวนการทางสติปัญญา ซึ่งอาศัยสิ่งเร้าและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การฝึกทักษะการคิด การใช้ลักษณะการคิดแบบต่างๆ รวมทั้งกระบวนการคิดที่หลากหลายจะช่วยให้การคิดอย่างจงใจและอย่างมีเป้าหมายของผู้เรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพมากขึ้น
                การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด คือ การดำเนินการเรียนการสอนโดยผู้สอนใช้รูปแบบ วิธีการ และเทคนิคการสอนต่างๆ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดขยายต่อเนื่องจากความคิดเดิมที่มีอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
                การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม (Group Process Based Instruction)
                กระบวนการกลุ่ม เป็นกระบวนการในการทำงานร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน และมีการดำเนินงานร่วมกัน โดยผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มต่างก็ทำหน้าที่ของตนอย่างเหมาะสม และมีกระบวนการทำงานที่ดี เพื่อนำกลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานกลุ่มที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางสังคม และขยายขอบเขตของการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้น
                การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม คือ การดำเนินการเรียนการสอนโดยที่ผู้สอนให้ผู้เรียนทำงาน/กิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม พร้อมทั้งสอน/ฝึก/แนะนำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานกลุ่มที่ดีควบคู่ไปกับการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระตามวัตถุประสงค์

หลักการจัดการเรียนการสอนโดยไม่มีครู    ( Instruction without Teacher)
นับตั้งแต่มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนที่เรียกว่า โปรแกรมสำเร็จรูปหรือ “Programmed Instruction” ขึ้นมา แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้มุ่งไปที่ตัวผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น การจัดการเรียนการสอนเริ่มเน้นให้ผู้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ประกอบกับในระยะหลังเทคโนโลยีทางการศึกษาจึงได้นำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้จึงได้ขยายออกไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ จึงทำให้เกิดลักษณะของการเรียนรู้แบบใหม่ขึ้น ซึ่งไม่ต้องอาศัยครู
  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Programmed Instruction)
  หลักการ  
การวิเคราะห์เนื้อหา และจัดแบ่งเนื้อหาสาระเป็นส่วนย่อยๆ ที่มีความต่อเนื่องเป็นลำดับขั้น และนำเสนอทีละขั้น ไม่กระโดดข้ามขั้นจะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นได้ดี  และการให้ผู้เรียนมีโอกาสตรวจสอบการเรียนของตนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ต่อไป และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องจะเป็นผลดีต่อการเรียนรู้ขั้นต่อไป
นิยาม การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หรือบทเรียนแบบโปรแกรมหมายถึงการดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องใดหนึ่งโดยให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนแบบโปรแกรมในเรื่องนั้นด้วยตนเอง บทเรียนแบบนี้นี้นำเสนอเนื้อหาสาระทีละขั้นตอนย่อยๆ ที่มีความต่อเนื่องไปตามลำดับ ซึ่งเรียกว่า เฟรมและมีถามให้ผู้เรียนตอบสนอง และตรวจสอบผลการตอบสนองของตนได้ทันทีว่าถูกหรือผิด เมื่อเรียนจบบทเรียน ผู้เรียนสามารถประเมินของตนเองได้
ตัวบ่งชี้  ผู้สอนมีการวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการของผู้เรียนในการเรียนรู้สาระและผู้สอนมรการจัดหาหรือสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ ผู้สอนมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ และวิธีใช้บทเรียนแบบโปรแกรมให้ผู้เรียนเข้าใจ ฯลฯ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer-Assisted Instruction)
หลักการ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามนำมาขยายขอบเขตความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้ดี รวมทั้งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามรถของผู้เรียน และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้เรียนและผู้สอนและสามารถนำไปใช้งานทางการศึกษาด้านอื่นๆ ด้วย เช่น งานการบริหาร การสอบการประเมินผล เป็นต้น
นิยาม การจัดการเรียนการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยขยายขอบเขตความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสามารถในการสอนของครู โดยการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ขึ้นมา และคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอบทเรียน ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งโดยมีการนำสื่อประสมเข้ามาช่วยในการนำเสนอ เช่น ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการเรียนรู้ตามการนำเสนอของบทเรียน เป็นต้น
ตัวบ่งชี้ มีบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ผู้สอนสร้างขึ้น หรือผู้อื่นสร้างไว้แล้ว หรือมีโปรแกรมการสร้างบทเรียนสำหรับผู้เรียนและมีเครื่องคอมพิวเตอร์และ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้สอนมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ เนื้อหา และวิธีการในการเรียนรู้ให้ผู้เรียน เข้าใจ และสำรวจความพร้อมและความเข้าใจของผู้เรียนก่อนให้ผู้เรียนดำเนินการ เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอนทางไกล (Distance Instruction)
หลักการ เทคโนโลยีสาสนเทศช่วยทำให้การสื่อสารไร้จำกัดในเรื่องของเวลาและระยะทาง และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาได้ การจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยให้ผู้สอนถ่ายทอดความรู้ผ่านทางสื่อมวลชน และสื่อโทรคมนาคมต่างๆ สามารถช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากที่อยู่ในที่ต่างๆ ได้เรียนรู้ โดยที่คุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างไปจากการจัดการเรียนการสอนตามปกติ
นิยาม การจัดการเรียนการสอนทางไกล หมายถึง การสอนที่สอนผู้สอน และผู้เรียนอยู่ต่างสถานที่กัน แต่สามารถติดต่อสื่อสารมีปฏิสัมพันธ์กันในกิจกรรมการเรียนการสอนได้ด้วยการใช้สื่อและเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ  โดยการเรียนการสอนอาจเป็นแบบทางเดียว คือ ผู้สอนถ่ายทอดความรู้ผ่านทางสื่อมวลชน และสื่อวัสดุอื่นๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เทปบันทึกเสียง เป็นต้น
ตัวบ่งชี้ ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ต่างสถานที่กัน ผู้สอนมีการออกแบบกาเรียนการสอน โดยการวิเคราะห์และกำหนด เนื้อหา แนวคิด วัตถุประสงค์ และกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับการถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชน หรือสื่อโทรคมนาคม
การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ (Wed – Based Instruction)
หลักการ เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉาะคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่กว้างขวางมาก บุคคลทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงข้อมูล และใช้ประโยชน์จากข้อมูล และใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ การให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ของตนเองโดยการสืบค้นข้อมูล ความรู้จากเครือข่ายต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูก
นิยาม การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ (Khan, 1997: 49-52) หมายถึง การออกแบบการเรียนการสอนโดยการจัดการจัดห้องเรียนเสมือนจริง ที่จำลองสภาพชั้นเรียนปกติเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนผู้สอนจะออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลความรู้จากเครือข่ายต่างๆ
ตัวบ่งชี้ ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ต่างสถานที่กัน ผู้สอนการออกแบบการเรียนการสอน โดยการวิเคราะห์และกำหนดเนื้อหา แนวคิด วัตถุประสงค์ และกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับการถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชน หรือสื่อโทรคมนาคม
การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ (Wed – Based Instrution)
หลักการ เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่กว้างขวางมาก บุคคลทั่วไปทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงข้อมูล และใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้
นิยาม การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ (Khan, 1997: 49-52) หมายถึง การออกแบบการเรียนการสอนโดยการจัดห้องเรียนเสมือนจริง ที่จำลองสภาพชั้นเรียนปกติเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจะออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลความรู้จากเครือข่ายจ่างๆ
ตัวบ่งชี้ ผู้สอนมีการออกแบบการเรียนการสอนโดยมีการวิเคราะห์และกำหนด เนื้อหาสาระ แนวคิด วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งมีการจัดระบบระเบียบการใช้เทคโนโลยีต่างๆ